+++ Personal Public Gallery ++++


ไรน้ำนางฟ้าอายุ 1 วัน
( 25-07-2006)

อายุ 2 วัน ( 26-07-2006)
อายุ 3 วัน ( 27-07-2006)
อายุ 4 วัน ( 28-07-2006)

อายุ 5 วัน ( 29-07-2006 )
วันนี้เอาลงตู้เลี้ยงปลาแล้วครับ
อายุ 6 วัน ( 30-07-2006 )
วันนี้หลายตัวโตขึ้นมาก สีที่หางเริ่มออกกันแล้ว

อายุ 7 วัน ( 31-07-2006 ) สังเกตุเห็นการเจริญพนธุ์ของรังไข่ของตัวเมียอย่างชัดเจน

อายุ 8 วัน ( 01-08-2006)
สีของไข่ในรังไข่ของตัวเมียมีสีเข้มขึ้นอย่างชัดเจน
วันนี้พบว่ามีสาชิกตายไป 2 ตัว


ผมสงสัยว่าน้ำเขียวที่ใส่้จะมีค่า
ammonia สุงเมื่อทดสอบดูพบ
ว่าค่าสูง มากกว่า 5 mg/l....!

คราวนี้เลยอยากลองวัดค่าammonia
ของน้ำใน ถังเลี้ยง
เมื่อทำการหยดสารเคมีขวดที่ 1และ
ขวดที่ 2 จะได้น้ำเป็น สีเหลืองอ่อน
เมื่อหยดสารเคมีขวดที่ 3แล้วจะพบว่าน้ำ
ในหลอดทดลองเป็น สีเขียวอมฟ้า
นำน้ำในหลอดไปเทียบสีกับ
แผ่นเทียบสีจะได้ว่าค่า
ประมาณ 1.5 mg/l

คราวนี้เลยต้องทำการลด ammonia ในถังเลี้ยง โดยทำ การเปลี่ยนถ่ายน้ ำ ประมาณ 50% เพื่อ dilute ammonia ให้ลงเหลือประมาณ 1.5 mg/l จากนั้ก็ต้อง ทำการกำจัดammonia จากถังสาหร่าย chrollera โดยวิธี biological filtration แบบ moving bedโดยอาศัย mediaแบบ bcn-009เดิมที่ใช้ในชุดของบ่อปลาทองมาใช้  

 

ผมได้ทดลองแบ่งน้ำจากบ่อเลี้ยงออกมาใส่ขวด 2 ขวด
ขวดที่ 1 ใส่แต่น้ำจากบ่อเลี้ยงอย่างเดียว ใช้เป็นตัวควบคุม
ขวดที่ 2 ใส่น้ำพร้อม Moving bed media ( BCN-009)

ทำการอัดอากาศลงในน้ำ ทั้ง2 ขวด
เป็นเวลา 18 ชั่วโมง






ทำการวัดค่า ammoniaที่คงเหลืออยู่
ในขวดทดลองที่ 1 (ตัวควบคุม)พบว่า
สีที่ได้มีค่า้เท่ากับสีก่อนทำการทดลอง




สามารถเทียบค่าได้ประมาณ 1.5 mg/l








ทำการวัดค่า ammoniaที่คงเหลืออยู่
ในขวดทดลองที่ 2 (ขวดที่ต้องการศึกษา)พบว่า
สี ที่ได้มีค่าการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน



สามารถเทียบค่าได้ประมาณ 0 mg/l







สรุปทำการเปรียบเทียบผลการทดลองการลดปริมาณ ammonia โดยอาศัยหลักการทำงานของ Nitrifying Bacteriaที่เกาะบนตัวกลาง(media)แบบเคลื่อนที่( moving bed)ชนิดที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ(specific surface)สูงแสดงให้เห็นว่าเราสามารถนำขบวนการบำบัดน้ำแบบใช้อากาศและตัวกลางแบบเคลื่อนที่มาช่วย ใน การปรับปรุง คุณภาพ น้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบความหนาแน่นสูงในระบบปิดนั้นมีความเป็นไปได้แต่ยังคงต้องศึกษาถึงวิธีการกำจัดไตเตรด(nitrate)ที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปจากammoniaให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่เป็นอัตราต่อสัตว์น้ำต่อไป


ตัวเมียที่อยู่ทางซ้ายมือของภาพนั้น วางไข่ไปหมด
ท้องแล้วส่วนตัวทางขวายัง ไม่ได้วางไข่ จะสังเกต
ุเห็นได้ชัดว่ามีไข่อยู่เต็มท้อง เวลาวางไข่ตัวเมีย
จะคว่ำตัวลงเอาท้องถูกับพื้น
แล้วดีดตัวไปมาแบบกุ้งฝอยครับ
( 03-08-2004)
   

ตัวผู้ตัวนี้กำลังลอกคราบ สามารถสังเกตุเห็นคราบ
ที่เพิ่งลอกออกมอยู่ทางข้างๆตัวทางขวา
( 03-08-2004)

 



จากคราวที่แล้วที่ผมบอกว่า ผมจะทำกำจัดammonia จากถังสาหร่าย chrollera โดยวิธี biological filtration แบบ moving bedโดยอาศัย mediaแบบ bcn-009นั้น ผมได้เริ่มทดลองใส่เจ้า media bcn-009 ลงในถังเมื่ิวันที่ 02-08-2006 โดยหวังว่าจะสามารถลดammoniaที่มีอยู่ในน้ำให้อยู่ในค่าที่พอรับได้จะได้เอาเจ้าน้ำเขียวนี่ไปเป็น Feed เลี้ยงเจ้าไรน้ำนางฟ้าต่อไป แต่รออยู่ 2วันแล้วก็ยังไม่ลด สงสัยเพราะเนื่องจากมีค่า ammoniaที่ละลายอยู่สูงมากจนปริมาณ bcn-009ที่ใส่ไม่พอ ส่วนจะเอามาเพิ่มจากบ่อปลาก็กลัวระบบที่บ่อปลาจะล่ม ผมก็เลยเอาตะกอนของบ่อกรองที่ bcn-009 อยู่มาใส่ลงไปแทน เพราะยังไงๆก็ต้องมีเจ้าbacteria ติดมาอย่างแน่นอน เอาแบบข้นๆมาเลย คราวนี้ใส่ไปประมาณครึ่งแก้วน้ำนะครับ

ครับได้ผล....แต่ได้เกินคาดครับ น้ำเขียวยผม Dead Small Ray ไปเลยครับ จากการวิเคาระห์สรุปได้ว่าที่น้ำเขียวตายหมดภายในแค่ 2-3นั้นน่าจะเพราะว่า ผมใส่Bacteriaมากเกินไปครับ เจ้าbacก็เลยแยง่ทั้งammoniaในถังหมด เปลี่ยนให้ammoniaไปเป็น nitrat ซึ่งก็จะถูกใช้โดยเจ้า chrolleraไปอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากผมไม่ได้เติมรำเข้าไปให่ม ซึ่งก็หมายความว่าผมไม่ได้ใส่ ammoniaเข้าไปในระบบให่ม ดังนั้นจึงไม่มีnitrateเกิดขึ้นไปเลี้ยงเจ้า chrollera มันก็เลยหิวตายคาบ่อไปเลยครับ งานนี้ซึมไปเลยครับ เดี๋ยวคราวหน้าทำให่มต้องค่อยๆใส่ิbacteria ไม่มากไป........สู้ต่อไปไอ้มดแดง


ผมเองเจอปัญหาว่าไม่สามารถกำจัด ammniaในน้ำเขียวและในบ่อเลี้บงได้หมด ทั้งยังพบปัญหาอีกว่าน้ำเขียวที่เลี้ยงไว้ตายพร้อมกันหมดทั้ง3ถัง ดังนั้นจึงต้องนำรำข้าวร่อนละเอียด มาละลายน้ำให้แทนนำ้เขียว แต่สิ่งที่ตามมาก็คือรำส่วนเกินที่ตกลงสู่ก้นบ่อได้ก่อให้เกิดปัญหาเรื่อง ammniaขึ้นมาอีก ผมจึงได้ลองใส่ผงจุรินทรีย์ ที่ใช้ลดammoniaในนากุ้งที่มีทั้ง Nitrobacter, Nitrosomonous และ Bacillus Subtillisใส่ลงไปด้วย

ผลการทดลองออกมาดีมากครับ เมื่อทำการวัด ammonia และ nitrateพบว่ามีค่าต่ำมากจนเรียกได่ว่าเกือบไม่มี แต่การใช้นั้นไม่ต้องใช้มากนะครับดูตามเอกสารข้างถุงก็คงจะประมาณการได้ว่าควรใช้แค่ไหน

อ้อ......ลืมบอกไปว่าเจ้า Bacillus Subtillisนี่ยังเป็นอาหารให้เจ้าไรน้ำนางฟ้าได้โดยตรงอีกด้วยนะครับ

ลองมาดูหน้าตาของ Bacillus Subtillis กันนะครับว่าเป็นอย่างไรสำหรับbacteriaพวก แกรมบวก






หน้าตาก็เหมือนกับกระบอกสั้นๆยาวประมาณ 2 ไมครอนครับ







moving bed

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบกรองแบบ Moving bed ได้ที่ http://www.movingbed.net

บ.วาสเซอร์แคร์ จำกัด

โทร. (02) 616-3885 / (081) 400-8319 / โทรสาร.(02) 278-3107 / E-mail : chanin@wassercare.com